เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของสถาบันการเงินของรัฐ ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
เกี่ยวกับสมาคม
MISSION 1
บูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินของรัฐเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล
เกี่ยวกับสมาคม
MISSION 2
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Synergy) เพื่อยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
เกี่ยวกับสมาคม
MISSION 3
การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ของกลุ่มลูกค้าสถาบันการเงินของรัฐ และประชาชน
เกี่ยวกับสมาคม
MISSION 4
ส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน และการสร้างวินัยทางการเงินให้กับกลุ่มลูกค้าสถาบันการเงินของรัฐ และประชาชน
เกี่ยวกับสมาคม
MISSION 5
สนับสนุนการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล ในทุกกระบวนการ
เกี่ยวกับสมาคม
Previous slide
Next slide

มาตรการด้านการเงิน

เพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID – 19) ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ

พักชำระเงินต้น
ดอกเบี้ย หรือเงินงวดผ่อน

ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
หรือลดเงินงวดผ่อนชำระ

ขยายระยะเวลากู้

ให้สินเชื่อเพิ่มเติม
หรือสินเชื่อใหม่

กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ

ดําเนินการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบครอบคลุม 5 กลุ่มเป้าหมาย

คำถามที่พบบ่อย

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามปัญหา เพิ่มเติม สามารถสอบถามหรือแจ้งปัญหาที่เบอร์ 0 2270 1005, 0 2270 1019 หรือ ติดต่อเรา
กรณีที่มีปัญหาข้อมูลเครดิตและต้องการขอสินเชื่อกับธนาคารนั้น ปัจจุบันสถานะบัญชีต้องปกติ ไม่อยู่ระหว่างถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างประนอมหนี้ แนะนำให้ผู้กู้ไปตรวจสอบเครดิตกับ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ก่อน จากนั้นนำเอกสารดังกล่าวพร้อมเอกสารการปิดบัญชีเข้าไปปรึกษา กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารต่อไป
หากลูกค้ายังไม่เคยเป็นลูกค้าผู้กู้ของธนาคารมาก่อน สามารถยื่นวัตถุประสงค์การขอกู้ให้พนักงานสินเชื่อพิจารณาได้ โดยจะมีการพิจารณาถึงวัตถุประสงค์การกู้, คุณสมบัติของผู้กู้, การค้ำประกัน, ความสามารถในการชำระหนี้ และปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม หากลูกค้าสนใจสามารถเตรียมเอกสาร และติดต่อขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าผู้กู้ที่สาขาตามถิ่นที่อยู่หรือแหล่งทำกิน เอกสารเบื้องต้นในการติดต่อ ดังนี้
  • – บัตรประจำตัวประชาชน
  • – ทะเบียนบ้าน
  • – เอกสารการสมรสหรือหย่า, เอกสารเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
  • – เอกสารแสดงรายได้ (ถ้ามี) เช่น รายการเดินบัญชี สลิปเงินเดือน เอกสารรับรองเงินเดือน เป็นต้น
  • – เอกสารของหลักประกัน เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน เป็นต้น
สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหลายบัญชี ไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียนพร้อมเพย์ทุกบัญชี แต่อาจเลือกบัญชีใดบัญชีหนึ่งไว้สำหรับรับเงินด้วยพร้อมเพย์ได้ หรือในกรณีที่อยากใช้พร้อมเพย์กับหลายบัญชี ก็สามารถเลือกผูกเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีที่ 1 และผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีที่ 2 ก็ได้แต่ต้องระวังหมายเลขเดียวกันผูกซ้ำเกินกว่า 1 บัญชีไม่ได้
  • – ตรวจสอบที่อยู่ของลูกค้าว่าถูกต้องกับข้อมูลที่ให้ไว้กับธนาคารหรือไม่
  • – สอบถามว่าได้รับบัตรบาร์โค้ดหรือยัง ถ้ายังไม่ได้รับให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีสินเชื่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลลูกหนี้
  • – แจ้งภาระหนี้ค่างวด โดยดูจากใบแจ้งหนี้ในระบบ เพื่อให้ลูกหนี้ไปชำระโดยใช้ใบแจ้งหนี้ของเดือนก่อนได้
  • – หากลูกค้าสะดวกไปติดต่อสาขา สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอใบแจ้งหนี้ซึ่งสาขาสามารถพิมพ์ใบแจ้งหนี้ได้เอง หรือไปชำระหนี้ที่สาขาได้เลย
  • – ติดต่อเจ้าหน้าที่
การที่ธนาคารจะอนุญาตให้ผู้ขอกู้ไถ่ถอนหลักประกันบางส่วนในโครงการนั้นสามารถกระทำได้ แต่หลักประกันที่ขอไถ่ถอนออกไปจะต้องไม่เป็นที่ตั้งของ สถานประกอบการ (เช่น สำนักงาน ร้านค้า โรงงาน โกดัง เป็นต้น) และใช้เป็นสถานประกอบการหลักที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของลูกค้า หากเป็นการค้ำประกันภายใต้โครงการ RP ธนาคารสามารถให้การไถ่ถอนได้ตามหลักเกณฑ์ คือจะต้องรับชำระหนี้คืนไม่ต่ำกว่าราคาประเมินปัจจุบัน หากเป็นการค้ำประกันภายใต้โครงการปกติ หรือ MOU ธนาคารจะต้องขอความยินยอมจาก บสย. ก่อนดำเนินการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ควรจะชำระหนี้คืนไม่ต่ำกว่ามูลค่าที่คิดเป็นหลักประกัน ของหลักประกันที่ไถ่ถอน